ประวัติความเป็นมา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

ประวัติความเป็นมา

    ลำน้ำกวงเป็นลำน้ำสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาในท้องที่อำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ เขตติดต่อกับจังหวัดเชียงราย ลำน้ำนี้ไหลผ่านท้องที่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราบ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านสบทา อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน ลำน้ำสาขาต่างๆ ของแม่น้ำปองมีความลาดชันมาก ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตกหนักในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ น้ำในลำน้ำแม่กวงจะไหลบ่าท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งลำน้ำไปยังจุดบรรจบกับแม่น้ำปิงที่บ้านสบทา และยังให้น้ำในแม่น้ำปองเอ่อท่มท้นบริเวณพื้นที่ท้องสองฝั่งในจังหวัดลำพูนจนกระทั่งถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้พื้นที่เพราะปลูกของราษฎรในบริเวนดังกล่าวได้รับความเสียหายเกือบทุกปี  

 

การพัฒนางานชลประทานในลุ่มน้ำแม่กวงนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2472 พระองค์เจ้าบวรเดชได้เคยวางแผนจะสร้างฝายทดลองน้ำพร้อมเหมืองส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพราะปลูกในเขตอำเภอ  ดอยสะเก็ดและอำเภอสันกำแพง ราคาก่อสร้างประมาณ 8 ล้านบาทแต่เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนโครงการดังกล่าวจึงต้องล้มเลิกไป

ต่อมาใน พ.ศ.2478 เจ้าราชภาคีนัย ได้สร้างฝายกั้นลำน้ำแม่กวงที่ดอยลอง บ้านผาแตก ซึ่งฝายดังกล่าวได้ถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหายทุกปีจนไม่สามารถจะซ่อมแซมให้ใช้การได้ดี ใน พ.ศ. 2488 กรมชลประทานได้ วางแนวคลองใหม่เพื่อช่วยเหลือพื้นที่อีกประมาณ 25,000 ไร่ ในพ.ศ. 2491 ได้ก่อสร้างฝายหินทิ้งขึ้น สำหรับระบบส่งน้ำได้ใช้เหมืองส่งเดิมของราษฎรได้แก่  คลองผาแตกบางส่วน คลองเกาะมะตัน และคลองเมืองวะ สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปได้ถึง 60,000 ไร่ ต่อมาใน พ.ศ.2499 ได้เกิดอุทกภัยขึ้นอีกทำให้ฝายชำรุด เสียหายมาก ใน พ.ศ.2500  กรมชลประทานจึงได้ปรับปรุงฝายเดิมโดยการเทคอนกรีตผสมหินใหญ่ ทับหน้าฝายหินทิ้งเดิม และขยายตัวฝายหินเดิมยาว 80 เมตร เป็น 120 เมตร พร้อมปรับปรุงอาคารประกอบ รวมทั้งขุดคลองส่งน้ำเพื่อขยายพื้นที่ส่งน้ำของราษฎรเพิ่มขึ้นเป็น 74,750 ไร่และกรมชลประทาน ได้เริ่มสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพต่างๆของ ลำน้ำแม่กวง เพื่อการศึกษาพัฒนาทั้งลุ่มน้ำต่อไปให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องที่ อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่และได้เสด็จพระราชดำเนินมายังบริเวณโครงการชลประทานแม่กวง และบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ในพื้นที่ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานสำรวจและศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวงในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ และให้กรมชลประทานจัดหาที่ดินทำกินใหม่แก่ราษฎรซึ่งจะถูกน้ำท่วมทีทำกินหลังการก่อสร้างเขื่อนด้วย

          คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทาน เริ่มงานก่อสร้างเบื้องต้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2519 ดังนั้นกรมชลประทานได้เริ่มสำรวจออกแบบ และก่อสร้าง งานเบื้องต้นใน พ.ศ.2520 พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้จากต่างประเทศต่อไปซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้เงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 4 สัญญาในระหว่าง พ.ศ. 2525 ถึง 2530 รวมเป็นเงินกู้ที่ใช้ในโครงการนี้ 7,000.5 ล้านเยน

งานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราและระบบส่งน้ำชลประทาน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบรูณ์ตามแผนพัฒนาเกษตรชลประทานแม่กวงใน พ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ เขื่อนเก็บกักน้ำโครงการชลประทานแม่กวงให้กับกรมชลประทาน ตามที่ได้กราบบังคับทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อว่า “เขื่อนแม่กวงอุดมธารา” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538

การก่อสร้างเขื่อน

ลำน้ำแม่กวงเป็นลำน้ำขนาดกลาง เป็นสาขาของลำน้ำแม่ปิง มีต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดลำพูน ในฤดูฝน จะมีน้ำบ่ารุนแรงมาก จึงเกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเกือบทุกปี ส่วนฤดูแล้งก็มีน้ำน้อย ไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูก เดิมราษฎรได้สร้างฝายพื้นเมืองปิดกั้นลำน้ำเพื่อทดน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก เป็นฝายประเภทชั่วคราว สร้างขึ้นโดยขาดหลักวิชาการ เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม ต้องซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี ปีใดฝายเสียหายมาก ไม่สามารถซ่อมแซมได้ทัน ผลผลิตที่เคยได้รับสม่ำเสมอก็จะลดลง ทำให้ราษฎรเดือดร้อน กรมชลประทานจึงได้ทำการปรับปรุงฝายผาแตกซึ่งเป็นฝายราษฎรเดิม ให้เป็นฝายหินทิ้งประเภทกึ่งถาวร จนในที่สุด ก็เป็นฝายหินก่อประเภทถาวร ซึ่งเป็นโครงการฝายแม่กวงในปัจจุบัน

      ต่อมาปรากฎว่า เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำขึ้นในฤดูเพาะปลูกเนื่องจากราษฎรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น  กรมชลประทานได้พิจารณาตรวจสอบสภาพภูมิประเทศของลำน้ำแม่กวงตอนต้นขึ้นไป ปรากฏว่าเห็นสมควรสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้นที่บริเวณเหนือจากหัวงานเดิมของฝายแม่กวงขึ้นไปประมาณ 1 กม. จึงได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการแม่กวงในปี 2519 แล้วเสร็จในปี 2530

ลักษณะและแผนที่เขื่อน

  •   เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ ปิดกั้นลำน้ำแม่กวง 
  •   สูง 63.00 ม. ยาว 620 ม. 
  •   ระดับสันเขื่อน + 400.00 ร.ท.ก. 
  •   ระดับเก็บกัก + 396.00 ร.ท.ก. ระดับเก็บกักสูงสุด + 398.00 ร.ท.ก. 
  •   ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก 410 ล้าน ลบ.ม. 
  •   พื้นที่อ่าง ฯ ที่ระดับเก็บกัก 15 ตร.กม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 250 ล้าน ลบ.ม./ปี 
  •   อาณาเขตรับน้ำ 565 ตร.กม. ผริมาณฝนเฉลี่ย 1,250 มม./ปี 
  •   ทางระบายน้ำฉุกเฉิน กว้าง 50 ม. ระบายน้ำได้ 1,000 ลบ.ม./วินาที 
  •   ทำนบดินปิดช่องเขาต่ำฝั่งซ้ายสูง 49 ม. ยาว 756 ม. 
  •   Canal Outlet ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.00 ม. ระบายน้ำได้ 33.00 ลบ.ม./วินาที (กำลังพิจารณาออกแบบให้ผลิต        กระแสไฟฟ้าด้วย) 
  •   คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว 72.0 กม. คลองซอยและคลองแยกซอย ยาว 240 กม. 
  •   ทำนบดินปิดช่องเขาต่ำฝั่งขวา สูง 36 ม. ยาว 670 ม. 
  •   Canal Outlet ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 ม. ระบายน้ำได้ 9.00 ลบ.ม./วินาที 
  •   คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ยาว 17.0 กม. คลองซอยและคลองแยกซอย ยาว 35 กม.

ระยะเวลาก่อสร้าง   :  12 ปี (ปี พ.ศ.2519 – 2530)

ค่าก่อสร้าง   :  ทั้งโครงการ 1,860 ล้านบาท เฉพาะหัวงานและอาคารประกอบ 835.28 ล้านบาท

 

แผนที่แสดงผังบริเวณพื้นที่โครงการ

Rolex replica orologi replica